ข้อควรระวัง
ตลอดทั้งไฟล์วิธีใช้นี้ ฟังก์ชันการทำงานและขั้นตอนบางอย่างจะอธิบายสองครั้ง โดยขึ้นอยู่กับรถสองกลุ่มเหล่านี้
ตั้งแต่ช่วงปลายของทศวรรษ 1980 มีการพัฒนาการตรวจหาข้อบกพร่องเกี่ยวกับโมดูลควบคุมขึ้นจากการตรวจหาปัญหาง่ายๆ และจัดเก็บข้อมูลในปริมาณเล็กๆ น้อยๆ เพื่อรวมไว้ในการทดสอบและการตรวจสอบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ปัจจุบัน สามารถอ่านข้อมูลในปริมาณมากได้ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาที่ตรวจพบ รวมทั้งพารามิเตอร์จากสัญญาณอินพุทและสัญญาณเอาท์พุทของโมดูลควบคุม นอกจากนี้ ยังสามารถเปิดใช้งาน, ควบคุม และเขียนข้อมูลลงในโมดูลควบคุมได้ด้วย
ใน VIDA วิธีการสื่อสารกับรถยนต์จะแตกต่างไป โดยขึ้นอยู่กับว่ารุ่นรถยนต์นั้นใช้โปรโตคอลของการตรวจหาข้อบกพร่องใด นอกจากนี้ โปรโตคอลของการตรวจหาข้อบกพร่องจะมีความสามารถในแง่ของวิธีการที่จะสามารถตรวจหาข้อบกพร่องของรุ่นรถยนต์นั้นได้ใน VIDA ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การเข้าถึงการตรวจหาข้อบกพร่องในแท็บ จะแตกต่างไปเล็กน้อย โดยขึ้นอยู่กับว่ารถที่ต้องการตรวจหาข้อบกพร่องนั้นใช้โปรโตคอลใด
รุ่นรถยนต์ที่ดำเนินการใน VIDA จะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ สองกลุ่มดังต่อไปนี้ โดยพิจารณาจากโปรโตคอลของการตรวจหาข้อบกพร่อง:
รถรุ่นที่ใช้โปรโตคอล VDS (ใช้ในรถทั้งหมดที่มีแพลตฟอร์มระบบไฟฟ้าแบบใหม่ โดยเริ่มจากรถรุ่น XC90 รุ่นปี 2016)
D2 และรถรุ่นที่ใช้โปรโตคอล GGD (ใช้ในรถทั้งหมดที่มีแพลตฟอร์มที่มีอยู่อื่นๆ ทั้งหมด)
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวัง
ตลอดทั้งไฟล์วิธีใช้นี้ ฟังก์ชันการทำงานและขั้นตอนบางอย่างจะอธิบายสองครั้ง โดยขึ้นอยู่กับรถสองกลุ่มเหล่านี้
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอ่านเอกสาร เวอร์ชั่นการวินิจฉัยข้อบกพร่องและวิธีการสื่อสาร ใน VIDA ท่านสามารถดูเอกสารนี้ในแท็บ ของรถ โดยใช้วิธีค้นหาหรือผ่านทางพาธต่อไปนี้: